fbpx

Hotel Consulting

รู้ให้จริง ทำให้เป็น เรื่องโรงแรม

GreyMarketประเทศไทยนับวันจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อคนวัยทำงานที่สูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี ในขณะเดียวกันธุรกิจให้บริการดูแลผู้สูงอายุก็มีอัตราการเติบโตมากกว่า 7% ต่อปี และมีการคาดการ์ณว่าจะยังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องไปอีก ทำให้มีผู้สนใจจะลงทุนในธุรกิจประเภทนี้กันมากขึ้น

เคยมีคำถามจากผู้สนใจที่จะลงทุนในธุรกิจนี้สอบถามเข้ามา 2-3 โครงการ ซึ่งได้ให้คำแนะนำในเชิงการตั้งข้อสังเกตไปในเบื้องต้นว่า ไม่ว่าคุณสนใจจะทำธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในแบบไหน จะเป็น Day Care หรือเป็นแบบ Full Service มีบริการแบบครบวงจร มีประเด็นที่ควรตั้งข้อสังเกตสำหรับการทำการตลาดที่น่าสนใจ ดังนี้

  1. ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ เป็นธุรกิจการให้บริการ ดังนั้น “คุณภาพของคน” จากผู้ให้บริการจึงเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มความละเอียดอ่อนมาขึ้นไปกว่าธุรกิจการให้บริการอื่นๆ เนื่องจากต้องให้บริการดูแลบุคคลอันเป็นที่รักของครอบครัว
  2. ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ เป็นธุรกิจที่เปรียบเหมือนเป็น “บริการที่จำเป็น” สำหรับครอบครัวที่บุตรหลานไม่สะดวกในการให้ความช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวได้แบบเต็มเวลา  เมื่อเป็นสินค้าหรือบริการที่จำเป็น ก็จะมีความใกล้เคียงกับธุรกิจโรงพยาบาล ที่ลูกค้าจะจัดสรรเงินเพื่อมาใช้บริการเมื่อเกิดความเจ็บป่วย หรือเมื่อต้องการคำปรึกษา และความช่วยเหลือ เพราะฉนั้นจะต่างจากธุรกิจโรงแรมหรือท่องเที่ยว ที่ลูกค้าใช้จ่ายในสินค้าที่จำเป็นก่อน เงินส่วนที่เหลือจึงค่อยจัดสรรมาใช้บริการการท่องเที่ยว
  3. ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ถึงแม้จะมีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มผู้สูงอายุ แต่กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงทางการตลาด คือ กลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ อันได้แก่ บุตร หลาน และญาติพี่น้องที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ดังนั้น การตั้งกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด จึงควรให้ความสำคัญกับกำลังซื้อของกลุ่มผู้รับผิดชอบด้านค่าใช้จ่าย หรืออาจเรียกว่าเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายตัวจริง
  4. การวางรูปแบบการให้บริการผู้สูงอายุ นอกจากการให้บริการตามมาตรฐานความต้องการทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุแล้ว ทางด้านจิตใจยังมีปัจจัยที่ต้องคำนึงทั้งตัวผู้สูงอายุเอง และผู้ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่าย หรือกลุ่มที่เป็นลูกค้าตัวจริง
  5. การจัดสรรพื้นที่ในการให้บริการ ควรจัดสรรพื้นที่ที่สามารถรองรับหรือตอบสนองความต้องการของผู้ดูแลได้ด้วย เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถใช้เวลาร่วมกัน หรือสามารถใช้พื้นที่ในการทำกิจกรรมในบริเวณเดียวกันได้ เช่น ในพื้นที่โครงการมีการแบ่งส่วนดูแลผู้สูงอายุ ในขณะเดียวกันก็มีพื้นที่นั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจ หรือจะมีร้านกาแฟ ร้านเบเกอรี่ หรือส่วนที่เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน
  6. ควรให้ความสำคัญด้านไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าตัวจริง หรือผู้ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุ ไม่ว่าคุณจะวางรูปแบบการให้บริการเป็นอย่างไร ในส่วนตำแหน่งทางการตลาด การตั้งราคาค่าบริการ
  7. การสื่อสารทางด้านการตลาด คือ การสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าตัวจริง เพราะฉะนั้นคอนเทนต์ หรือเรื่องราวต่างๆที่จะนำเสนอจึงควรเป็นการสื่อสารกับกลุ่มนี้โดยตรง

ส่วนเรื่องการออกแบบสถานที่เพื่อให้ได้มาตรฐานและข้อกำหนดเรื่องสุขอนามัยต่างๆนั้น ผู้ออกแบบหรือสถาปนิกสามารถให้ความช่วยเหลือในด้านนี้ได้โดยตรงอยู่แล้ว แต่แนะนำให้หันมาเน้นในเรื่องคอนเซ็ปต์ของรูปแบบการให้บริการที่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งในเรื่อง “ความจำเป็น” ของผู้สูงอายุและ “ไลฟ์สไตล์” ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ