fbpx

Hotel Consulting

รู้ให้จริง ทำให้เป็น เรื่องโรงแรม

โรงแรมจะกลับมาเปิดหรือจะปิดต่อดี

ดูเหมือนว่าเราจะเริ่มก้าวเข้าสู่ระยะการฟื้นตัว หรือ Recovery หรือเปล่า ?

ข้อนี้ยังไม่แน่ใจมากนัก เพราะหลังจากปลดมาตรการผ่อนคลายมากขึ้นก็ดูเหมือนว่าเราจะลดความเข้มข้นในการใช้ชีวิตแบบนิวนอร์มอล ทั้งบางคนไม่ใส่หน้ากากอนามัย หยิบจับอะไรไม่ล้างมือ 20 วินาทีอย่างน้อย และที่เห็นชัดที่สุดคือ ไม่เว้นระยะห่างกันเท่าที่ควร ทั้งตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร

แล้วถ้าเรายังคงกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ ที่ไม่ใช่นิวนอร์มอล แต่เป็นโอล์ดนอร์มอล เราก็จะมีความเสี่ยงที่ต้องกลับไปเจอกับโควิดระลอกที่ 2 อีกแน่นอน

และถ้าเป็นแบบนั้นธุรกิจท่องเที่ยวที่กำลังเริ่มทะยอยกลับมาเปิดให้บริการก็อาจจะต้องหยุดอีกครั้ง

เมื่อสถานการ์ณยังไม่มีความแน่นอน และโอกาสที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มเดินทางได้อีกครั้งโดยไม่ต้องถูกกักตัว 14 วันก็ยังไม่แน่นอนมากกว่าเช่นกัน การที่โรงแรมจะตัดสินใจกลับมาเปิดหรือไม่เปิดให้บริการนั้นเริ่มมีแนวคิดและมีความคิดที่นำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันแล้ว

เปรียบเทียบจากอะไร?

Howarth HTL ให้แนวคิดไว้ว่าสิ่งที่คุณควรพิจารณามี 5 ข้อ ได้แก่

(1) Carrying Cost ค่าใช้จ่ายที่คุณยังคงต้องรับภาระอยู่ในแต่ละเดือน

(2) Business Model and Cost Structure รูปแบบของธุรกิจและโครงสร้างของต้นทุน

(3) Prediction  การคาดการ์ณในอนาคต

(4) Reopening Costs/Working Capital ต้นทุนที่ต้องใช้ในการเปิดโรงแรมอีกครั้ง หรือเงินทุนที่ต้องใช้

(5) Comparison of reopening and status quo เปรียบเทียบสถานะระหว่างเปิด กับปิดอย่างที่เป็นอยู่

โดยนำตัวเลขทั้งหลายมาบวกลบทำตัวเลข Cash flow ออกมาให้เห็นว่าในอีก 4-6 เดือนข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ทำจนถึงสิ้นปีนี้ แล้วดูตัวเลขสะสมที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร

เช่น ถ้าปัจจุบันคุณปิดโรงแรมอยู่ แต่ยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ยังต้องรับภาระอยู่เดือนละ 150,000 บาท ถ้านับจากเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม คือ 6 เดือน ยอดค่าใช้จ่ายสะสมคือ 150,000 x 6 เท่ากับ 900,000 บาท

เปรียบเทียบกับ

ถ้าคุณกลับมาเปิดให้บริการ ในเดือนแรกนอกจากค่าใช้จ่ายประจำเดือนที่มีภาระอยู่คือ 150,000 บาท อาจมีค่าใช้จ่ายเตรียมเปิด หรือ Reopening Cost อีก 200,000 บาท (สมมติ) รวมเป็น 350,000 บาทในเดือนกรกฎาคม ส่วนเดือนต่อ ๆ ไปอาจทำ Occupancy ได้อยู่ที่ 25% เพราะลูกค้ามาได้แต่เสาร์-อาทิตย์ คุณอาจมีรายได้เข้ามาเดือนละ 120,000 บาท คุณก็นำมาหักกลบกับค่าใช้จ่ายเดือนละ 150,000 บาทที่มีอยู่ แปลว่าเดือนสิงหาคม Net Cash Flow ของคุณจะติดลบ (30,000)  เดือนกันยายนคุณอาจมีคนเข้าพักได้มากขึ้นอาจมีรายได้ 200,000 บาท Net Cash Flow ของคุณก็กลับมาเป็นบวก 50,000 บาท …..ทำไปเรื่อย ๆ จนจบเดือนธันวาคม แล้วบวกตัวเลข Net Cash Flow ออกมาเป็นเท่าไหร่ เช่น อาจจะออกมาเป็นติดลบ 650,000

แปลว่า ถ้าปิดต่อ ตัวเลขสิ้นปีคุณขาดทุน 900,000 บาท แต่ถ้ากลับมาเปิดคุณขาดทุน 650,000 บาท

คุณก็อาจต้องมาตัดสินใจว่าจะกลับมาเปิด หรือจะปิดต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใน 6 เดือนข้างหน้าคุณคิดว่าจะทำการตลาดและโปรโมชั่นการขายเพื่อให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการได้มากน้อยเท่าไหร่ ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายเดิมที่มีอยู่ อาจมีการปรับเพิ่มเพราะคุณต้องใส่งบประมาณด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ การออกโปรโมชั่นมากขึ้น ตัวเลข Net Cash Flow ของคุณก็จะเปลี่ยนไปตามสมมติฐาน และแผนปฏิบัติงานของคุณ

ทีนี้ถ้ามองว่าปิดต่อดีกว่า ก็คงต้องกลับมาหาทางใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น หรือต้องมาวาง Asset Utilization Plan ใหม่ หรืออาจมาวาง Business Model กันใหม่ หรือเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ไปเลย เพื่อหาทางออกให้ธุรกิจคุณได้ไปต่อ

แต่ควรเริ่มจากการประมาณการคิดคำนวณให้เห็นตัวเลขออกมาก่อนนะคะ

อย่าไปมองว่าเห็นเพื่อนกลับมาเปิด เราก็กลับมาด้วย

#เราจะผ่านไปด้วยกัน

thethinkwise · EP20 – โรงแรมจะกลับมาเปิด หรือปิดต่อดี