
เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นป้ายตราสัญญลักษณ์ของแบรนด์ OYO ที่โดดเด่นด้วยพื้นสีแดงและตัวหนังสือสีขาวติดตามที่พัก ห้องพัก อพาร์ตเม้นท์ หรือโรงแรมในแบบราคาประหยัด (Budget Hotel) ในบ้านเรากันพอสมควร ไม่เฉพาะแต่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่ตามต่างจังหวัดเวลาที่เราขับรถไป เราก็อาจจะงง ๆ บ้างว่า “…มีป้ายแบบนี้อยู่ด้วย…”
การขยายตัวของป้าย OYO ในบ้านเรารวดเร็วเช่นกัน เห็นได้จากจำนวนป้าย OYO ที่มีอยู่ในหลายจังหวัด และในเมืองท่องเที่ยวแต่ละแห่งก็มีป้าย OYO อยู่เป็นจำนวนมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา
เจ้าของที่พักราคาประหยัด หอพัก อพาร์ตเม้นท์เดิมในบ้านเรามีหลายท่านที่ได้ตัดสินใจเลือกใช้บริการของ OYO ไปแล้วและมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป
วันนี้เราจะมาดูกันว่าเมื่อเจ้าของแบรดน์เลือกวางแนวทางในทำธุรกิจแบบโตเร็ว และโตไว สิ่งที่เกิดขึ้นและผลกระทบที่ได้รับเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้จะพาไปไล่เรียงทั้งจากฝั่งผู้บริหารเจ้าของแบรนด์ OYO ที่ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่าง ๆ และเสียงจากฝั่งอดีตพนักงานที่เคยร่วมงานกับ OYO กัน
ธุรกิจ OYO แพลตฟอร์มช่วยขายห้องพักในแบบเกสท์เฮ้าส์ ห้องพักราคาประหยัดในประเทศอินเดียเริ่มขึ้นในปี 2013/2556 หรือเมื่อ 8 ปีที่ผ่านมา และขยับธุรกิจมาเป็นแบบโฮเต็ลเชนในเวลาอันรวดเร็วเพราะได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก Soft Bank ประเทศญี่ปุ่นที่ตีมูลค่าธุรกิจของ OYO ถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2019/2562 และ ณ จุดนั้นที่มีทีมงานทั่วโลกหลายหมื่นคน
จากจุดนั้นจนมาถึง ณ จุดนี้ในปี 2564 มูลค่าของบริษัทลดลงเหลือเพียง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ กับคำกล่าวของ CEO, Ritesh Agarwal เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า ” Growth will be moderate in comparison to what it was earlier”. นั่นหมายถึงแนวทางในการประคองธุรกิจต่อไปคือจะไม่เร่งการเติบโตแบบรวดเร็วเหมือนที่ผ่านมา และจะเน้นตลาดในอินเดีย และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และธุรกิจประเภทเช่าระยะสั้นในยุโรป ซึ่งมีการปรับลดทีมงานไปแล้ว 2 ใน 3 จากเดิมที่มีอยู่ และเรียกได้ว่าจะ “พับแผน” การขยายตลาดในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และจีน ตามเป้าหมายเดิมที่เคยวางไว้โดย CEO ใช้คำว่า เป้าหมายการลงทุนค่อนข้างจะ “very limited”
ย้อนกลับไปในด้านจำนวนห้องพักที่อยู่เครือข่ายของ OYO ณ จุดที่โตสูงสุดคือ 1.20 ล้านห้องพักใน 80 ประเทศ
ต้องนึกย้อนกลับไปว่าภายในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมากับการเติบโตด้วยจำนวนห้องพัก และจำนวนประเทศที่มีป้าย OYO ปักอยู่นั้น ทำให้ OYO อยู่ในสภาพที่เรียกว่าแทบจะ “หลุดรุ่ย” เลยทีเดียว ไม่ใช่เมื่อเทียบกับช่วงที่ทั่วโลกเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 แต่แม้แต่เทียบกับช่วงก่อนที่จะเกิดโควิด-19 ก็อยู่ในสภาพย่ำแย่เลยทีเดียว เพราะเขาใช้เงินในการควบกิจการ การเข้าซื้อ การหาโรงแรมเข้าในพอร์ตมากจนเกินไป เมื่อเทียบกับรายได้จากค่าคอมมิชชั่นที่ได้จากสมาชิกเหล่านั้น
ปี 2019 ที่ผ่านมา OYO ขาดทุนมากถึง 335 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปีบัญชีสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2020)
และในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ในปี 2020/2563 มียอดขาดทุนสูงสุดถึงเดือนละ 15.0 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่โรงแรมต้องปิดให้บริการ และการเดินทางไม่สามารถทำได้
สถานการณ์ในอินเดียนั้น อัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate) ไม่ถึงครึ่งของอัตราการเข้าพักช่วงก่อนโควิด-19 ส่วนในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ สก๊อตแลนด์ ไอร์แลนด์) มีการปรับลดพนักงานจาก 550 คนเหลือต่ำกว่า 100 คน และในประเทศจีน จำนวนห้องพักที่คงเหลืออยู่บนแพลตฟอร์มมีต่ำกว่า 100,000 ห้อง จาก 500,000 ห้อง
.
.
.
.
คราวนี้มามองจากมุมทีมงานที่เคยร่วมงานกับ OYO บ้างว่ามีความเห็นต่อแนวทางการทำงาน สภาพการทำงานและวัฒนธรรมในการทำงานเป็นอย่างไร
อดีตพนักงานระดับหัวหน้าสำนักงานอังกฤษที่ดูแลพื้นที่สหราชอาณาจักรทั้งหมดให้ความเห็นว่า ภายในสิ้นปีนี้เขายังตั้งคำถามว่าธุรกิจไม่น่าจะอยู่ได้ในตลาดสหรัฐอาณาจักร และทุกอย่างที่ไม่ประสบผลสำเร็จจะถูกโยนไปที่วิกฤติโควิด-19 ทั้งหมด นอกจากนี้พนักงานอีก 3 คนที่มีหน้าที่ออกตระเวนเพื่อหาโรงแรมเข้ามาในแพลตฟอร์มกล่าวว่า OYO เร่งแต่จะเพิ่มจำนวนโรงแรมที่เข้ามาในแพลตฟอร์มโดยไม่พิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการเติบโตของธุรกิจโรงแรมที่พักนั้นๆ เพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการนำโรงแรมเข้าพอร์ต 1 โรงแรมในบางสถานที่นั้นสูงกว่าค่าคอมมิชชั่นที่จะได้จากโรงแรมทั้งปีเสียอีก เช่น ค่าเดินทางไปยังโรงแรมที่อยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของสก๊อตแลนด์ เป็นต้น
.
.
.
ส่วนในมุมของเจ้าของโรงแรมที่เข้าร่วมกับ OYO ในภูมิภาคนี้ก็ตำหนิเป็นเสียงเดียวกันว่า OYO ทำราคาลงไปต่ำมาก ๆ เพื่อที่จะให้มีอัตราการเข้าพักสูง ๆ ให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งทำให้รายได้ของเจ้าของกิจการเมื่อหักค่าคอมมิชชั่นแล้วแทบจะไม่เหลืออะไร นอกจากนี้ในภูมิภาคอื่น ๆ ก็มีการฟ้องร้องถึงขั้นไปสู่ศาลเลยก็มีให้เห็นเช่นกัน
.
.
คำแนะนำจาก #thethinkwise
จากที่ไล่เรียงมาทั้งหมดนั้น อยากจะให้ผู้ประกอบการโรงแรม เจ้าของโรงแรมพิจารณาให้ดี ๆ ก่อนจะตัดสินใจเลือกที่จะใช้แพลตฟอร์มการขาย หรือเข้าร่วมอยู่ภายใต้เชนโฮเต็ลของใคร ควรจะพิจารณาประเด็นต่าง ๆ ให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อน และไม่ใช่เชื่อแต่สิ่งที่เขานำมาเสนอ แต่ควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม
- ที่มาที่ไปของแบรนด์
- ประวัติความเป็นมาของบริษัท
- สถานะการเงินของบริษัท
- ความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ
- ความเข้าใจตลาด โดยเฉพาะตลาดเมืองไทยเป็นตลาดที่เรียกว่า “ปราบเซียน” มาแล้วหลายเชน
- นโยบายในการกำกับ ดูแล เพื่อสร้างมาตรฐานในการให้บริการ
ที่สำคัญควรแยกแยะให้ออกว่าอะไรเป็นเพียงแพลตฟอร์มการขายออนไลน์ อะไรเป็นการบริหารโรงแรมภายใต้แบรนด์ แล้วจึงค่อยมาดูในเรื่องของงบประมาณและค่าใช้จ่าย อันได้แก่ค่าคอมมิชชั่น เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่แพลตฟอร์มหรือเชนนั้น ๆ จะทำให้คุณ
ที่มา : เนื้อหาจากข่าวใน Financial Times