


ถ้าต้องรออีกอย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี “คนทำโรงแรม” อยากทำอะไรเพื่อปรับปรุงการบริหารที่ผ่านมาบ้าง ?
ถึงแม้จะมีการส่งสัญญาณในการเปิดเมืองเปิดประเทศในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ แต่เชื่อมั่นว่าหลาย ๆ โรงแรมยังไม่อยู่ในภาวะที่พร้อมจะเปิดดำเนินการใหม่ หรือบางแห่งก็ยังไม่ประสงค์ที่จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งแต่เลือกที่จะออกจากธุรกิจไปเลยโดยการขายกิจการ หรือบางท่านมองไประยะยาวกว่านั้น คือ อีก 1 ปีค่อยกลับมาเปิดอย่างจริงจังใหม่
ดังนั้นในช่วงระยะเวลาที่มีอยู่…ถ้าเราตั้งคำถามกับตัวเองว่ามีอะไรที่เราสามารถปรับใหม่ได้ เราควรจะปรับปรุงในด้านไหนบ้าง
ก่อนอื่น เรามาตอกย้ำประเด็นในเรื่องการลงทุนทำโรงแรมก่อนว่าการทำโรงแรมเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร นั่นหมายถึงการลงทุนระยะยาว ดังนั้นเมื่อตั้งใจที่จะทำธุรกิจโรงแรมแล้วการดูแลสินทรัพย์ในระยะยาวเพื่อให้สามารถใช้งานในการสร้างรายได้จึงเป็นสิ่งสำคัญในลำดับแรก ๆ ซึ่งปกติแล้วเวลาเราเปิดโรงแรมใหม่ ๆ ช่วง 3 ปีแรกมักจะไม่ได้มองถึงจุดนี้เพราะทุกอย่างยังใหม่อยู่ ยังสนุกกับการที่มีลูกค้าเข้าพักอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย แต่เมื่อโรงแรมต้องหยุดให้บริการชั่วคราวซึ่งมีระยะเวลาที่ยาวนานกว่าปกตินั้นจะมีสิ่งที่ควรระมัดระวังอะไรเพิ่มเติมบ้าง และคุณควรเพิ่มความระมัดระวังในเรื่องไหนบ้าง ไปดูกันค่ะ
วันนี้ได้รวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องในแต่ละหัวข้อมาไว้ในที่เดียวเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้อ่านไม่ต้องค้นหากันหลายครั้ง



1. ต้นทุนในการบริหารกิจการ
บริหารอย่างไรเพื่อให้โรงแรมไปต่อ
หาต้นทุนห้องพัก บริหารโรงแรมให้เป็น
2. การสร้างแบรนด์โรงแรม
สร้างแบรนด์โรงแรม ต้องเริ่มเมื่อไหร่
3. ทีมงาน และการสร้างทีมบริการ
โรงแรมควรรู้ สร้างทีมหน้าฟร้อนท์ให้เก่ง
วางตัวให้เป็น เห็นแก่ลูกค้าและทีมงาน
4. ด้านการเงิน
เตรียมพร้อมพบแบงค์ โรงแรมทำอย่างไร
ถอดบทเรียนวิเคราะห์การเงินโรงแรม
.
.
.
ลองทบทวนกันนะคะ อะไรที่เป็นจุดแข็งก็พัฒนาต่อไป อะไรที่เป็นจุดอ่อนก็เร่งปรับปรุง
ประเด็นสำคัญควรวางรูปแบบการทำธุรกิจให้มีความยืดหยุ่นเพื่อง่ายในการปรับตัวเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน
การวางฉากทัศน์ (Scenario) ไว้หลายๆแบบไม่ใช่แต่ดูเฉพาะตัวเลขในแต่ละฉากทัศน์ แต่ให้มองถึงเรื่องการจัดการในส่วน Operation และ ทีมงานด้วยว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนไปตามฉากทัศน์ที่คิดตัวเลขออกมาได้อย่างไร
.
.
.
จุดนี้ถือว่าสำคัญ เพราะหลายๆท่านวางแต่ฉากทัศน์แต่ไม่ได้วาดภาพไปถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ทีมงาน รูปแบบในการทำด้าน operation ที่จะสอดคล้องกับตัวเลข ดังนั้นจึงไม่สามารถปรับตัวได้
ส่งกำลังใจให้ทุกผู้ประกอบการค่ะ