


ลงมือเขียน OKR ให้ชัดเจน – โรงแรมฝึกเขียน
เราได้ยินการพูดถึงเรื่อง OKR – Objective Key Result กันมาพอสมควรในปี 2565 แต่อาจยังไม่ค่อยเห็นตัวอย่างในธุรกิจโรงแรมที่ชัดเจนว่า เป้าหมายชัดเจน ตัวชี้วัดชัดเจน ความร่วมมือระหว่างทีม เจ้าของกิจการควรเป็นคนเริ่มปฏิบัติจริงจัง ผลักดันให้เป็นแนวทางปฏิบัตินั้นต้องทำอย่างไร
บทความย้อนหลังเรื่อง OKR ที่ thethinkwise เคยนำมาเผยแพร่ครบ 1 ปีพอดีในเดือนธันวาคม ใครยังไม่ได้อ่านแนะนำแวะไปที่ https://thethinkwise.com/2021/12/03/hotel-with-okr-how-to/
.
.
จากเดิมเวลาเราทำงบประมาณประจำปีของโรงแรม (ซึ่งป่านนี้ควรจะได้รับการอนุมัติและมีการคีย์ตัวเลขเข้าในระบบเรียบร้อยแล้วนะคะ) หน้าแรก ๆ ของรายงานงบประมาณจะมีการตั้งเป้าหมายของแต่ละปีว่าเราจะทำอะไรกันเป็นแบบกว้าง ๆ อาจไม่ชัดเจนมากนัก โรงไหนที่ทำไปแล้วและคิดว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นกรอบนั้นยังขาดความชัดเจน และไม่มีตัวชี้วัดก็สามารถนำมาขยายความเพื่อผลักดันแนวคิดแบบ OKR ให้พนักงานแต่ละทีมได้ร่วมกันทำงานภายใต้กรอบเดียวกัน
.
การผลักดันให้แต่ละทีมมีส่วนร่วมในการเขียน OKR นั้น คือการทำให้แน่ใจว่าเป้าหมายหมายต่าง ๆ ที่คุณตั้งนั้น เป็นสิ่งที่ทีมงานของคุณอยากที่จะทำ อยากที่จะก้าวไปด้วยกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวคุณในฐานะ “เจ้าของกิจการ” หรือ “ผู้บริหาร” โรงแรมควรต้องชัดเจนและจริงจังในการนำ OKR มาปรับใช้ เพราะจะต้องมีการติดตามความคืบหน้ากันอย่างใกล้ชิดเป็นระยะ ๆ
.
วันนี้เราจะมาเน้นเรื่องการเขียน Objective Key Result ของโรงแรมว่าจะตั้งต้นอย่างไรจึงจะเขียน เป้าหมายชัดเจน



ตั้งต้นจาก “วิสัยทัศน์” กันก่อนว่าในปี 2566 โรงแรมของคุณมองภาพธุรกิจตัวเองเป็นแบบไหน ต้องการก้าวไปเป็นอะไร และถ่ายทอดภาพนั้นออกมาให้ตัวคุณและทีมของคุณเห็นภาพ เช่น จะเป็นที่พักอันดับ 1 สำหรับกลุ่มครอบครัวในพื้นที่ภาคตะวันออกที่สามารถทำกำไรได้ หรือจะเป็นที่พักอันดับ 1 ประเภทรีสอร์ทริมทะเลที่ติดอันดับระดับความพึงพอใจของลูกค้าบนทุกแพลตฟอร์ม เป็นต้น
.
เมื่อตั้งวิสัยทัศน์เรียบร้อย …. คุณก็ต้องมาคิดต่อว่าการที่โรงแรมคุณจะก้าวไปอยู่ตรงจุดนั้น คุณควรตั้ง เป้าหมายชัดเจนอะไรบ้างในด้านต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปได้
ในฐานะผู้บริหาร หรือ โรงแรมไหนที่เจ้าของบริหารเอง การที่จะขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าโดยภาพรวมของธุรกิจโรงแรมควรให้น้ำหนักกับ 3 ประเด็นดังต่อไปนี้
- การวางกลยุทธในการทำธุรกิจ
- ทีมงาน
- การบริหารจัดการ
.
ในการเขียน OKR สำหรับประเด็นข้างต้นในส่วนของ Objective ที่คำนึงถึง 3 ส่วน การเขียนเป้าหมายควรจะมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนเป็นกรอบในการทำงานไว้ด้วย เช่น คุณตั้งวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นอันดับ 1 ที่พักสำหรับครอบครัวในภูมิภาคตะวันออกที่สามารถทำกำไรได้ ในส่วนเป้าหมาย (Objective) แรกที่จะทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริง อาจตั้งเป้าหมายที่ 1 ว่าคุณจะเพิ่ม GOPPAR (Gross Operating Profit per Available Room) 10% ต่อจากนั้น ก็ไล่เรียงเป้าหมายในส่วนทีมงาน และในส่วนการบริหารจัดการ เรียงลำดับมา
.
การเขียน OKR ไม่จำเป็นต้องเขียนยืดยาว แต่ขอให้ เป้าหมายชัดเจนและมีตัวชี้วัด อย่าไปกังวลกับการเขียนมากจนเกินไป
เมื่อได้เป้าหมายแล้ว แต่ละเป้าหมายก็จะต้องมีตัวชี้วัดหลัก (Key Result)ที่จะใช้ติดตามความคืบหน้า ความก้าวหน้าของแต่ละเป้าหมาย ภายใต้วิสัยทัศน์เดียวกัน (ตามภาพประกอบ)
จากตัวอย่าง ถ้าคุณตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่ม GOPPAR 10% คุณจะตั้งตัวชี้วัดหลัก (Key Result) อะไรบ้าง ในส่วนนี้ขอให้เขียนตัวชี้วัด 4-5 ตัว ทั้งนี้คุณก็ต้องนึกภาพก่อนว่าตัวเลข GOPPAR มาจากอะไร เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าควรผลักดันธุรกิจด้วยตัวชี้วัดอะไรบ้างเพื่อให้ได้ GOPPAR ตามต้องการ
เช่น ต้องเพิ่ม ADR (Average Daily Rate), ต้องเพิ่ม Occupancy Rate, ต้องเพิ่มระยะเวลาการเข้าพัก (Length of Stay), ต้องเพิ่มกลุ่มลูกค้าที่พักระยะยาว, ต้องเพิ่มรายได้จากร้านอาหาร และงานจัดเลี้ยงต่าง ๆ เป็นต้น
จากนั้นก็กำหนดตัวเลขเข้าไปในแต่ละตัวชี้วัด เช่น เพิ่ม Occupancy Rate 10% หรือเพิ่มกลุ่มลูกค้าเข้าพักระยะยาว (มากกว่า 7วัน หรือ 14 วัน) อย่างน้อยกี่เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น
.
เท่านี้คุณก็จะได้ตัวชี้วัดหลักในแต่ละเป้าหมายที่มีความชัดเจนมากขึ้น….สอดคล้องกับ เป้าหมายชัดเจน
.
ทำแบบนี้ไล่เรียงไปให้ครบในแต่ละเป้าหมายหลักทีละส่วน (ดูแผนภาพประกอบ)
.
.
ภาพประกอบด้านล่างเป็นตัวอย่างที่สรุปมาจาก reclaro ผู้ให้บริการด้าน OKR ในประเทศอังกฤษซึ่งอธิบายให้เราเห็นภาพชัดเจนว่า ถ้าโรงแรมจะเขียน OKR จะเขียนอย่างไร



แหล่งข้อมูลตัวอย่างในต่างประเทศในเรื่อง OKR มีให้เลือกตามความชอบในสไตล์การอธิบายของแต่ละคน
- OKR Example in Leisure and Hospitality https://reclaro.com/blog/okr-examples-in-leisure-and-hospitality
- OKR for Restaurant https://www.whatmatters.com/faqs/okr-restaurant-examples
.
.
จาก O-Objective และ KR – Key Result ในภาพใหญ่แล้ว ก็ต่อด้วยแต่ละทีมทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านภายใต้กรอบการทำงานเดียวกันที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตั้งทั้งเป้าหมาย และตัวชี้วัดหลักของแต่ละแผนกว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร
.
จะเห็นว่าการขับเคลื่อนธุรกิจ เมื่อมีเป้าหมายชัดเจน พร้อม ตัวชี้วัดหลักที่ชัดเจน ทุกคนจะเห็นภาพเดียวกัน ใส่ความคิดไอเดียในการที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยกันด้วยความเต็มใจและทุ่มเท ซึ่งเบื้องหลังของการขับเคลื่อนนั่นก็คือ “ภาวะความเป็นผู้นำ” ของเจ้าของกิจการ หรือผู้บริหารของโรงแรมนั่นเอง
.
และสุดท้ายสำหรับการนำ OKR ไปใช้ในโรงแรม ควรกำหนดการติดตามผลเป็นระยะ และให้แต่ละทีมรายงานความคืบหน้าในการทำงาน
.
ถ้า “ผู้นำ” ไม่สามารถเป็น “ผู้นำ” ที่สร้างแรงบันดาลใจให้ทีมโรงแรมได้ ไม่ว่าต่อไปจะมีแนวคิดอะไรใหม่ ๆ แนวทางการทำงานอะไรใหม่ ๆ ก็ไม่สามารถนำมาขับเคลื่อนองค์กรได้
.
หวังว่าในก้าวต่อไปกับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ทุกโรงแรม ทุกเจ้าของธุรกิจจะพัฒนาทักษะในการเป็นผู้นำขององค์กรให้ชัดเจนมากขึ้น สร้างความศรัทธาให้ทีมมากขึ้น อาจเริ่มจากการใช้ OKR กับตัวคุณเอง สร้าง เป้าหมายชัดเจน พร้อมตัวชี้วัดหลักที่ชัดเจน กับตัวคุณเองก็ได้นะคะ